วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การทำงานของลำโพง

การทำงานของลำโพง

.............ตัวลำโพง ประกอบด้วย โครงลำโพงและ จะมีแม่เหล็กถาวรติดอยู่ี พร้อมเหล็กปะกับบน-ล่าง ซึ่งจะมีแกนโผล่ขึ้นมาด้านบนทำให้เกิดเป็นช่องว่างแคบๆ เป็นวงกลมเราเรียกว่าช่องแก็ปแม่เหล็ก (Magnetic Gap) ซึ่งแรงแม่เหล็กทั้งหมดจะถูกส่งมารวมกันอย่างหนาแน่นที่ตรงนี้ ถ้าแม่เหล็กมีขนาดเล็กก็ให้แรงน้อย (วัตต์ต่ำ) ขนาดใหญ่ก็มีแรงมาก (วัตต์สูง) ในปัจจุบันจะมีลำโพงที่ออกแบบให้มีวัตต์สูงเป็นพิเศษ โดยใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ และบางแบบจะซ้อน 2 หรือ 3 ชั้น จะได้วัตต์สูงขึ้นอีกมาก
.............วอยซ์คอยล์ คือขดลวดกำเนิดเสียง จะลอยอยู่ภายในช่องแก็ปแม่เหล็กนี้ ซึ่งมันจะรับพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องขยายที่ป้อนเข้าไปจะทำให้มันเกิดอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นโดยกลับขั้วไปมาตามสัญญาณทางไฟฟ้าที่ป้อนเข้ามา เพราะสัญญาณเอ้าพุทจากเครื่องขยายนั้นเป็นสัญญาณไฟสลับ ทำให้เกิดการดูดหรือผลักกันกับแม่เหล็กถาวรที่ก้นลำโพง เป็นการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ส่งแรงการสั่นสะเทือนนี้ผ่านไปยังกรวย (Cone) ที่เชื่อมติดกับตัววอยซ์คอยล์อยู่ให้สั่นตามไปด้วย โดยมีสไปเดอร์ (Spider) และขอบ(Surround) เป็นตัวคอยยึดให้ทั้งชุดที่ขยับเข้าออกนี้ได้ศูนย์กลางอยู่ตลอดเวลาไม่เซไปเซมา เพื่อผลักอากาศให้เป็นคลื่นวิ่งมาเข้าหูของเราให้ได้ยินเป็นเสียงต่างๆนั่นเอง เจ้าตัววอยซ์คอยล์นี้ก็มีหลายแบบ คือ แบบ 2 ชั้น 4 ชั้น แบบเปลือกกระดาษ/ไฟเบอร์/ไมก้า หรือแบบเปลือกโลหะ แบบที่เป็น 4 ชั้นและมีเปลือกเป็นโลหะก็จะมีวัตต์สูงกว่า มีความทนทานมากกว่าแบบอื่น เพราะเมื่อวอยซ์คอยล์ทำงานไปนั้นมันจะมีความร้อนเกิดขึ้น ถ้าใช้วอยซ์ 4 ชั้นลวดจะมีขนาดใหญ่กว่ากระแสผ่านได้มากกว่า และมีเปลือกโลหะที่ช่วยระบายความร้อนออกจากขดลวดได้ก็จะได้วอยซ์คอยล์ที่มีความทนทานมากขึ้นอีกมาก
.............ร้านเราได้ผลิตวอยซ์คอยล์ที่มีรูเทอร์โบ (Turbo Gap) ขึ้นก็ด้วยเหตุที่ ในปัจจุบัน วงการเครื่องเสียงบ้านและเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ มีการพัฒนาไปไกลมีกำลังวัตต์สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตรงข้ามกับการพัฒนาลำโพงที่กำลังวัตต์ตามไม่ทัน ถ้าเร่งเครื่องแรงๆ ลำโพงมักจะไหม้ได้ง่าย เรื่องนี้เราได้เืพิ่มการเจาะรูเทอร์โบจะช่วยได้มาก เพราะว่าเปลือกโลหะที่ใช้งานอยู่นั้นมันจะเป็นตัวสกัดกั้นแรงแม่เหล็กส่วนหนึ่งที่ส่งผ่านระหว่างแม่เหล็กถาวรที่ก้นลำโพงกับตัวขดลวดวอยซ์คอยล์ (Magnetic Sheild) รูเทอร์โบที่เจาะอยู่ที่บริเวณที่พันขดลวดนั้น จะเป็นช่องทางให้การส่งผ่านเหล่านี้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ความร้อนในขดลวดน้อยลงและได้เสียงดีขึ้นด้วย เนื่องจากเมื่อเครื่องเพาเวอร์แอมป์ส่งกำลังไฟฟ้ามาให้ขดลวดเสียงแล้วมันจะไม่รับคืนกลับ (จะต้องใช้ให้หมด) ถ้ามีพลังงานเหลือใช้ไม่หมดจึงต้องเปลี่ยนไปพลังงานความร้อนแทน ถ้าเราเจาะรูเทอร์โบแล้ว พลังงานจะถูกใช้ไปได้มากขึ้นจะช่วยลดความร้อนของขดลวดเสียงได้มากทีเดียว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น